กรณีศึกษาในประเทศไทย

บริษัท CKD Thai Corporation LTD.

การนำหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
ในแผนอบรมพนักงานเพื่อทำให้มองเห็นผลลัพธ์และเกิดการประเมินอย่างเป็นธรรม

  บริษัท CKD Corporation พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีควบคุมการไหลและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation) อย่างต่อเนื่อง และ บริษัท CKD Thai Corporation LTD. บริษัทสาขาที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปีค.ศ. 1988 มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของตลาดต่างประเทศในแถบ ASEAN ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

  ขณะที่กำลังจัดทำแผนอบรมพนักงานขึ้นใหม่ ทางบริษัทได้นำหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านหนังสือและการสอบมาตรฐานสมรรถนะเข้ามาใช้ โดยเราได้สอบถามคุณฮาตะ รองประธานบริษัท และ คุณวิ ผู้รับผิดชอบฝ่ายบุคคลชาวไทยเกี่ยวกับพื้นเพความเป็นมาของการใช้บริการหลักสูตรและผลลัพธ์ที่ได้

ภาพ (จากซ้ายมือ) :

กรุ๊ปลีดเดอร์ฝ่ายผลิต

คุณน้อย

ทีมลีดเดอร์ฝ่ายผลิต

คุณกานต์

ผู้รับผิดชอบฝ่ายบุคคล

คุณวิ

รองประธาน

คุณฮาตะ

กรุ๊ปลีดเดอร์ฝ่าย QC

คุณชัย

ชื่อบริษัท

URL

ข้อมูลบริษัท

CKD THAI CORPORATION LTD.

ก่อตั้งค.ศ. 1988
ที่อยู่700/58 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด กม.58 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160
ธุรกิจหลักผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ควบคุมการไหลสำหรับภาคอุตสาหกรรม

สร้างบริษัทที่มีชีวิตชีวาด้วยการประเมินคนที่ตั้งใจทำงานอย่างยุติธรรม

― อยากให้เล่าถึงความตั้งใจและเบื้องหลังในการนำหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing มาใช้เป็นแผนอบรมหน่อยครับ

คุณฮาตะ :

  เรากำลังพยายามสร้างบริษัทที่มีชีวิตชีวาให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างกระตือรือร้น ผ่านการปลูกฝัง “แผนอบรมบุคลากรที่ดี การนำสิ่งที่เรียนไปปฏิบัติจริง และการประเมินที่เป็นธรรม”

  CKD ไทยก่อนหน้านี้ ขาดระบบที่สามารถประเมินพนักงานได้อย่างเป็นกลาง และพบว่าการทำความเข้าใจถึงความพยายาม แนวความคิด และผลลัพธ์ของพนักงานเป็นเรื่องยาก ผมเลยมีความคิดที่จะเปลี่ยนโครงสร้างนี้ เพราะรู้สึกว่าโครงสร้างในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการสร้างวงจรที่สนับสนุนการเติบโตของพนักงานที่มีความทุ่มเท

  ผมคิดว่าเราจะสามารถสร้างความมีชีวิติชีวาให้บริษัท และก่อเกิดเป็นวงจรที่ดีได้ ด้วยการประเมินพนักงานที่พยายามและท้าทายตนเองอยู่เสมออย่างยุติธรรม และอิงจากความคิดนี้ ผมเลยบอกกับฝ่ายบุคคลว่าอยากจะจัดทำระบบบริหารงานบุคคลหรือแผนอบรมพนักงานขึ้นมาใหม่

  และเราก็ได้พิจารณาที่จะนำหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านหนังสือและการสอบมาตรฐานสมรรถนะเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนอบรมพนักงานที่จัดทำขึ้นใหม่ในครั้งนี้

   ・สามารถได้รับความรู้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปถึงระดับบริหารโดยไม่มีอคติผ่านการอ่านหนังสือ

   ・สามารถมองเห็นผลลัพธ์ (ระดับความรู้ที่ได้รับ) ผ่านการสอบมาตรฐานสมรรถนะ และเชื่อมโยงสู่การประเมินพนักงานได้

  เมื่อเห็นว่าคุณสมบัติของหลักสูตรตามข้างต้นตรงกับแนวคิดของบริษัทจึงได้นำมาใช้ครับ

สามารถมองเห็นระดับความรู้ที่พนักงานได้รับและผลลัพธ์ผ่านการสอบมาตรฐานสมรรถนะของหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing สินะครับ แล้วในส่วนของเนื้อหาการเรียนเป็นอย่างไรบ้างครับ

คุณวิ ผู้รับผิดชอบฝ่ายบุคคลชาวไทย, คุณฮาตะ รองประธาน

คุณฮาตะ :

  ผมคิดว่าหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing สามารถให้ความรู้ที่จำเป็นและควรรู้โดยทั่วกันแก่พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้ ภาพในหัวผมคือสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่เป็นรากฐานของการผลิตในมุมมองที่ใกล้เคียงกับฝ่ายบริหารครับ

  ในประเทศไทย เป็นเรื่องปกติที่พนักงานจะเติบโตในสายงานในแผนกเดิม เช่น ฝ่ายบัญชีก็จะทำงานในฝ่ายบัญชีตลอด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตก็จะทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตตลอด ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะที่ทุกคนคิดว่ามีแค่ความรู้ที่จำเป็นกับแผนกของตัวเองอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว และแต่ละแผนกก็จะอบรมและให้ความรู้พนักงานตามสภาวะนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ที่แต่ละคนในแต่ละแผนกมีจะแตกต่างกันออกไป

  ในการที่จะปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity) ผมคิดว่าทุกคนควรมีเรื่องทั่วไปที่เข้าใจตรงกัน (ความรู้ที่รู้โดยทั่วกันซึ่งสามารถพึ่งพาได้) ผมเข้าใจว่าหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing มีประโยชน์ในฐานะแบบเรียนที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และภาษากลางที่เชื่อมระหว่างแผนกต่าง ๆ ได้

การนำหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing มาใช้
เพื่อให้ประเมินได้อย่างยุติธรรม

ผลการสอบมาตรฐานสมรรถนะหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ที่มีอัตราการสอบผ่านสูงกว่า 90% เป็นผลการสอบที่น่าทึ่งมากครับ

คุณวิ :

  ขอบคุณมากค่ะ พวกเราตั้งใจกันอย่างเต็มที่เลยรู้สึกเบาใจขึ้นมามากเลยค่ะ การสอบมาตรฐานสมรรถนะของหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ครั้งนี้นับเป็นการสอบครั้งที่ 2 แล้ว ในการสอบครั้งแรก ไม่มีผู้สอบผ่านตามความคาดหวัง ในการสอบครั้งที่ 2 นี้ เราจึงเตรียมตัวกันอย่างทุ่มเทมากค่ะ

  ผลที่ได้ ครั้งนี้พนักงานสอบผ่านกันเกือบทุกคน เลยทำให้รู้สึกโล่งอกมาก ได้ยินมาว่าเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นแล้ว ผลสอบจัดกว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก พนักงานทุกคนเลยดีใจกันใหญ่ค่ะ

การสอบครั้งที่ 2 มีอัตราการสอบผ่านสูงขึ้นมาก ผมทราบมาว่าคุณวิเป็นผู้ดำเนินการหลักในการจัดทำแผนอบรมพนักงานด้วย ไม่ทราบว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้างครับ

คุณวิ :

  ก่อนหน้านี้ บริษัท CKD ไทยไม่มีแผนอบรมพนักงานอย่างเป็นระบบค่ะ หลังจากหารือกับคุณฮาตะ เราก็ใช้เวลากว่า 1 ปี ในการเรียบเรียงความหมายว่าภาพบุคลากรในอุดมคติของแต่ละแผนก แต่ละตำแหน่งงานควรมีลักษณะแบบไหน และกำหนดการอบรมที่จำเป็นสำหรับแต่ละแผนกและแต่ละระดับงาน โดยคิดย้อนกลับจากภาพที่ตั้งไว้ค่ะ

  เนื่องจากครั้งนี้เป็นการท้าทายครั้งแรกจึงลำบากมากค่ะ แต่เราก็ดำเนินการด้วยความคาดหวังที่อยากให้บริษัทพัฒนาเป็นบริษัทที่พนักงานจะสามารถมองเห็นเส้นทางอาชีพของตัวเอง และทำงานต่อไปได้อย่างสบายใจค่ะ

  และมันก็นำเรามาสู่การสอบหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ในครั้งนี้

  ・การประเมินอย่างเป็นกลางที่จำเป็น = การสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะ

  ・การกำหนดระดับความรู้สำหรับแต่ละระดับงาน

  ฉันคิดว่าสองข้อข้างต้นนี้สอดคล้องกับโครงสร้างของแผนอบรมของบริษัทเราค่ะ

เสริมสร้างความเข้าใจและการทำงานร่วมกัน
ด้วยการจัด Study Group ข้ามแผนก

อยากให้เล่าถึงวิธีหรือแผนเตรียมความพร้อมเพื่อให้สอบผ่านการสอบมาตรฐานสมรรถนะหน่อยครับ

คุณวิ :

  ที่ประเทศญี่ปุ่น ระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการอ่านหนังสือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ที่ประเทศไทยเราไม่คุ้นเคยกับการเรียนรูปแบบนี้

  ด้วยเหตุนั้น ทางฝ่ายบุคคลกับผู้เรียนจึงได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าควรจะดำเนินการเรียนอย่างไร ข้อสรุปที่ได้หลังจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คือ ให้มีการจัด Study Group เสริมจากหลังจากการเรียนด้วยตัวเอง โดยเราจะให้ผู้เรียนลองทำแบบฝึกหัดรวมคำถามที่ทางฝ่ายบุคคลจัดทำขึ้นด้วยตัวเองก่อน และถ้ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ ทุกคนก็จะพูดคุยปรึกษาหาคำตอบกันในช่วง Study Group ซึ่งจัดขึ้นอาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้งค่ะ

  ในช่วง Study Group เรานำแบบฝึกหัดคำถามเชิงปฏิบัติของทาง JMAM มาถามผู้เรียนด้วยค่ะ ระหว่างที่แก้ปัญหาร่วมกัน มีหลายครั้งที่คำตอบของทางฝ่ายผลิตกับคำตอบของฝ่ายควบคุมคุณภาพแตกต่างกัน เราเลยตัดสินใจที่จะจัด Study Group ในรูปแบบที่แต่ละฝ่ายสอนในส่วนที่ตัวเองถนัด และดำเนินการจัดได้ราบรื่นขึ้นค่ะ ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาไม่เพียงแค่แก้ปัญหาได้ แต่ยังได้โอกาสอันดีในการทำความเข้าใจแนวคิดและมุมมองของกันและกันที่อยู่ต่างแผนกกันด้วยค่ะ

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เรียนในรูปแบบเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านหนังสือ ไม่ทราบว่าคิดเห็นอย่างไรกับวิธีเรียนรูปแบบนี้บ้างครับ

คุณวิ :

  ข้อดีของการเรียนหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านหนังสือ คือ สามารถเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ และสามารถกำหนดเวลาเรียนได้ด้วยตัวเองค่ะ แต่ในทางกลับกัน ก็พบปัญหาที่ว่า หากเรียนคนเดียวแล้วเจอเนื้อหาส่วนที่ไม่เข้าใจ จะไม่สามารถถามข้อสงสัยกับคนอื่นได้ค่ะ

  จริงอยู่ว่าเราไม่คุ้นเคยกับการเรียนรู้ด้วยตัวเองแบบนี้ แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จัด Study Group ขึ้นก็เพราะคิดว่าการให้เวลาให้ทุกคนได้คิดหาคำตอบในฐานะ CKD ร่วมกันเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันค่ะ ฉันคิดว่าถึงแม้ว่าจะลำบาก แต่โดยผลลัพธ์แล้ว ก็นำไปสู่การพัฒนาการทำงานเป็นทีม (Teamwork) และความเข้าใจในเนื้อหาแบบเรียนที่เพิ่มมากขึ้นค่ะ

สายสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าสอบ
เป็นกุญแจไปสู่การสอบผ่านและการริเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ในการสอบมาตรฐานสมรรถนะของหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ครั้งที่ 2 ของบริษัท CKD ไทย พนักงานสอบผ่านเกือบทุกท่านเลย ซึ่งนับเป็นอัตราสอบผ่านที่สูงมากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ทางบริษัทมีการทบทวนเนื้อหาแบบไหนบ้างครับ

คุณวิ :

  ในการสอบครั้งแรก เราพึ่งพาการเรียนรู้ผ่านหนังสือด้วยตัวเองเป็นหลัก ผลคือต้องเจอกับศึกหนักเลยค่ะ

  เมื่อเข้าสอบครั้งที่ 2 เราก็ได้ความคิดเห็นจากผู้ที่เข้าสอบในครั้งแรกว่า “พอเรียนด้วยตัวเองแล้ว มีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจอยู่เยอะ” เราจึงขอความร่วมมือกับผู้เข้าสอบครั้งใหม่ในการจัด Study Group หลังเลิกงาน ตลอดระยะเวลาประมาณ 5 เดือน

  โดยเราจะผู้เข้าสอบรวมตัวกันที่ห้องประชุมหลังเลิกงานอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และให้พวกเขาจับกลุ่มพูดคุยถึงคำถามที่ยากในการสอบครั้งก่อน และแก้ปัญหาที่พบจากแบบเรียนและจากการเรียนรู้ด้วยตัวพวกเขาเองค่ะ ฉันคิดว่าการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถร่วมมือกันแบบนี้เป็นปัจจัยที่นำไปสู่อัตราการสอบผ่านที่สูงในครั้งนี้ค่ะ

คำถามหลังจากนี้ จะขอสอบถามคุณวิและตัวแทนผู้ที่สอบผ่านการสอบมาตรฐานสมรรถนะของหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing ครับ

เราได้ทราบว่ามีการแก้ปัญหาจากข้อสอบจำลองระหว่าง Group Study ด้วย เป็นอย่างไรบ้างครับ

คุณกานต์

คุณกานต์ :

  ใช่ค่ะ เรามีแก้ปัญหาจากข้อสอบจำลองระหว่าง Group Study ด้วยค่ะ คำถามที่เป็นกรณีตัวอย่าง (Case Study) ยากเป็นพิเศษเลย ตอนนั้นลำบากมากค่ะ

  ในส่วนของ Group Study เป็นการรวมตัวกันระหว่างสมาชิกแผนก QA และ Production ค่ะ ตอนที่แก้คำถามกรณีตัวอย่างจากข้อสอบจำลองเลยพบว่าแต่ละแผนกมีความเข้าใจและมุมมองที่แตกต่างกันมาก การหาจุดร่วมให้เห็นตรงกันจนออกมาเป็นข้อสรุปสุดท้ายในฐานะ CKD จึงลำบากมาก แต่ฉันก็รู้สึกว่าการที่ได้เห็นมุมมองและความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างแผนกนับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากค่ะ

  ช่วงแรกที่ต้องรวบรวมความคิดเห็นก็มีสับสนกันอยู่ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรดี แต่จุดไหนที่ความเห็นแตกต่างกัน เราก็หาจุดร่วมที่ตรงกันได้โดยกลับไปดูแบบเรียนของหลักสูตร และสรุปรวมความคิดเห็นออกมาได้ในที่สุด ฉันรู้สึกว่าพอมีกระบวนการแบบนี้ มันเลยกลายเป็น Study Group ที่มีความหมายมากค่ะ

คุณวิ :

  เราได้บทเรียนมาจากการสอบครั้งแรกที่ให้พนักงานไปสอบทั้งที่ยังมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจค่ะ ในครั้งนี้ เรามีการแก้ไขปัญหาจากข้อสอบจำลองใน Group Study ด้วย ส่วนไหนที่ไม่เข้าใจก็ชัดเจนขึ้น และสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ นอกจากนี้ ฉันคิดว่าการที่ผู้เรียนได้แบ่งปันความคิดเห็นของตัวเองขณะที่ถกความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาจากคำถามกรณีตัวอย่าง ช่วยให้พวกเขาได้ซึมซับความรู้ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และฉันยังรู้สึกว่าการริเริ่มกิจกรรมนี้ ส่งผลทางอ้อมให้ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกแน่นแฟ้นขึ้นด้วยค่ะ

ที่บริษัทมีวิธีการรักษากำลังใจพนักงานในการเรียนและดำเนิน Group Study อย่างไรบ้างครับ

คุณน้อย

คุณน้อย :

  ผมคิดว่าการที่ฝ่ายบุคคลบอกถึงความคาดหวังจากฝ่ายให้เราทราบ และมีคนเสนอตัวเป็นผู้นำที่คอยนำในการดำเนิน Group Study นำไปสู่การรักษากำลังใจในการเรียนครับ การที่ได้เรียนด้วยกันทุกอาทิตย์ ทำให้รักษากำลังใจในการเรียนได้จนจบ โดยไม่หมดไฟในการเรียนไปก่อนครับ

จิตสำนึกด้าน QC และกำหนดการส่งมอบ
เปลี่ยนแปลงอย่างมากผ่านการเรียน

มีความรู้จากหนังสือเรียนของหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานไหมครับ

คุณชัย

คุณชัย :

  ในการเรียนเตรียมสอบครั้งนี้ ทำให้ความรู้ด้าน QC ลึกซึ้งขึ้นมากครับ อย่างเรื่องเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (QC 7 Tools) ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าตัวเองรู้อยู่แล้ว แต่ก็พบว่ามีใช้ไม่ถูกต้องอยู่บ้าง จากการเรียนครั้งนี้ เลยรู้สึกว่าตัวเองได้ทบทวนความรู้และเข้าใจมากขึ้นครับ

คุณกานต์ :

  สำหรับฉันเอง จิตสำนึกด้านการส่งมอบงานก็เปลี่ยนไปมากค่ะ ฉันจำตัวอย่างกระบวนการทำแกงกะหรี่จากหนังสือได้ขึ้นใจ และนำบทเรียนที่ได้มาใช้ในที่ทำงานด้วยค่ะ ก่อนเรียน ฉันจะสนใจแค่การส่งมอบงานของแผนกตัวเองอย่างเดียว แต่หลังจากเรียนแล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเองให้ความสนใจกับกระบวนการของแผนกอื่นมากขึ้นค่ะ

เราคาดหวังว่าหลักสูตรของเราจะมีประโยชน์กับผู้เรียนในหลาย ๆ ด้าน เลยอยากทราบว่าคิดว่าการเรียนในครั้งนี้มีประโยชน์กับสิ่งใดมากที่สุดครับ

คุณน้อย :

  ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในที่ทำงาน และไม่เพียงแค่นั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการอบรมพัฒนารุ่นน้องด้วยครับ ผมคิดว่าเมื่อเราเรียนรู้ความหมายและพื้นฐานของสิ่งต่าง ๆ จนถ่องแท้แล้ว ก็จะสามารถสอนผู้อื่นต่อได้อย่างมั่นใจด้วยครับ

บทสัมภาษณ์เดือนมิถุนายน 2024

บริษัท CKD Thai Corporation LTD.

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร Master of Industrial Manufacturing

https://jmamthailand.co.th/th/services/moim/