ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยกำลังพบกับความท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง อาทิเช่น “ไทยแลนด์ 4.0 (การยกระดับอุตสาหกรรมขั้นสูงและการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์)” “การหลุดจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าสูง)” “ปัญหาการถ่ายทอดทักษะและองค์ความรู้จากการที่มีผู้เกษียณอายุเพิ่มมากขึ้น (การบ่มเพาะผู้นำสำหรับยุคถัดไป)” เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้คือการส่งเสริมให้เกิดการบริหารด้วยบุคลากรในท้องถิ่น (Localization) และ การสร้างระบบเพื่อพัฒนาบุคลากรคนไทยที่เป็นแกนหลักขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ
ด้วยเหตุนี้ ทาง JMAM จึงได้พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า “Master of Industrial Manufacturing” ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับคนไทยที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยในหลักสูตรได้รวบรวมความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบุคลากรที่เป็นแกนหลักขององค์กรอย่างเป็นระบบ และได้อิงเนื้อหามาจาก “Production Meister” (หมายเหตุ※1) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่รวบรวมมาจากนวัตกรรมในหน้างานของผู้เชี่ยวชาญของ JMA group
หลังจากผ่านการเรียนในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถเข้ารับการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ (หมายเหตุ※2) ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ของระดับความสามารถ และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับแต่ละบริษัทในการพัฒนาความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคลได้อย่างมีระบบแบบแผน
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรนี้จะเป็นหนึ่งในบรรทัดฐานสำหรับระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแวดวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เป็นแกนหลักในหน้างานการผลิต
※1: ที่ญี่ปุ่นมีการจัดการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถของ Production Meister มาแล้วรวม 15 ครั้ง มีจำนวนผู้เข้าสอบรวม 25,000 คน (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2563)
※2: ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรที่ออกร่วมกันระหว่าง สคช. และ JMAM [สศช. หรือ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) เป็นองค์กรมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นเพื่อเพื่อพัฒนาและผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพของไทย ด้วยการจัดทำมาตรฐานอาชีพให้ได้มาตรฐานสากล กำหนดองค์กรเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคล และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิวิชาชีพแและมาตรฐานอาชีพ]